34446734-1

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์

โครงสร้างที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์
มีอยู่ 4 อย่าง คือ

แผนที่โลก


1.       ภูมิศาสตร์ระบบ (Systematic Geography) เป็นเนื้อหาทางด้านสภาพแวดล้อมหรือกายภาพส่วนหนึ่ง และบทบาทของมนุษย์ในการดัดแปลงปรับปรุง สภาพแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง และทั้งสองระบบย่อยนี้ต่างมีผลกระทบต่อกันและกัน จะแสดงออกมาให้เห็นในด้านพื้นที่ในระบบกายภาพ โดยเนื้อหาของ ภูมิศาสตร์ระบบ จะประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ที่รววมกันเป็นภูมิศาสตร์ระบบ เช่น
โครงสร้างทางธรณี ลักษณะอากาศ ดิน
Systematic Geographyพืชพรรณ ตลอดจนถึงสัตว์ต่างๆ แต่ในระดับอุดมศึกษา จะประกอบด้วย วิชาธรณีสัณฐาน ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับดิน อากาศวิทยา และอุทกภูมิศาสตร์ เป็นต้น ส่วนในระบบมนุษย์ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ระบบสังคม หรือ ระบบวัฒนธรรม จะประกอบด้วยปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และความเป็นอยู่ ตลอดจนถึงปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในพื้นที่นั้นๆ และกลายเป็นส่วนประกอบที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ ดังนั้นเนื้อหาสาระจึงประกอบด้วย เรื่องราวต่างๆ เกือบทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ประชากร ระบบเศรษฐกิจ การอุตสาหกรรม การปกครอง และการค้า



Regional Geography

2.       ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial Interaction) ว่าด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มนุษย์อาศัยอยู่นั้น โดยนักภูมิศาสตร์ ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ และเกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปจะนำไปรวมกับปัจจัยทางกายภาพและวัฒนธรรม และนักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ  เช่น ภูมิอากาศเขตร้อน ภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม เช่น กลุ่มละติน-อเมริกัน หรือกลุ่มอาหรับ เป็นต้น แต่ที่นิยมกันมากคือการแบ่งพื้นที่ศึกษาตามรูปแบบการปกครอง คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆเป็นเกณฑ์ ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการ อัดจัดเป็นภูมิภคขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่
    (Hartshorne,1959)

                                                                                                                              

Techniques Geography
3.       ภูมิศาสตร์เทคนิคต่างๆ (Techniques Geography) เนื่องจากวิชาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับ การสำรวจและการบันทึกข้อมูลลงในแผนที่ และหลักการทำแผนที่ตลอดจนถึงศิลปะในการจัดเรียงข้อมูลต่างๆลงในแผนที่ ได้กลายเป็นองประกอบส่วนหนึ่งของ ภูมิศาสตร์ และเทคนิควิชาภูมิศาสตร์จึงเป็นการคำนวณสร้างโครงข่ายแผนที่ในลักษณะต่างๆ ออกมาตามวัตถุประสงค์  ในขณะเดียวกันก็รักษาคุณสมบัติของผิวโลกที่จำลอง ไปไว้ในแผนที่ให้ใกล้เคียงความจริงที่ นอกเหนือจากการประดิษฐ์แผนที่ด้วย โปรเจกชันแบบต่างๆ แล้วยังมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ เอาไว้ใช้ในแผนที่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกราฟ หรือไดอะแกรม เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการผนวกเอาเทคนิคทางด้านปริมาณวิเคราะห์เข้ามาไว้ด้วย การรู้จักใช้วิชาสถิติในลักษณะต่างๆ ประกอบกันกับคอมพิวเตอร์ ได้มีส่วนช่วยในการปรับปรุงวิธีการทางภูมิศาสตร์ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และเทคนิคสุดท้าย คือ การนำความรู้ทางด้านภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศ และโทรสัมผัสระยะไกล (Remote Sensing) มาช่วยในการวิเคราะห์ และตีความหมายพื้นที่ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

4.       ภูมิศาสตร์หลักปรัชญา (Philosophy Geography) เนื่องจากวิชาการของทุกสายต้องมีแนวความคิด คือ ความเชื่อในสิ่งที่กระทำ มีหลักการในการยึดถือปฏิบัติ ซึ่งภูมิศาสตร์เองก็มีแนวความคิด ของวิชาเป็นแกน ข้อคิดอันเป็นแก่นสารสาระของวิชานี้ในแต่ละสมัยถูกรวบรวมไว้เป็น กระจกส่องให้เห็นถึงความเป็นมา และประวัติของวิชาและครอบคลุมเนื้อหาของวิชา ดังกล่าว ขณะเดียวกันประวัติและแนวความคิดหรือปรัชญาของวิชาก็ค่อยๆ เจริญงอกงาม จากการสะสมเพิ่มพูนของแนวความคิดในแต่ละสมัย
การสร้างทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์และสภาพแวดล้อมในทุกด้านทุกมิติ ในปัจจุบันจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิชาภูมิศาสตร์ (Burge, 1966)
บทสรุป
โลก
            ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่สิ่งต่างๆที่เป็นธรรมชาติ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ปละตัวของมนุษย์เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น